1.2 การย่อยอาหารของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว



  
โปรโทซัว (protozoa) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีลักษณะคล้ายกับสัตว์เพราะสร้างอาหารเองไม่ได้ ไม่มีผนังเซลล์แต่สามารถเคลื่อนที่ได้ โปรโทซัวไม่มีระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหารโดยเฉพาะแต่อาศัยส่วนต่างๆ ของเซลล์ช่วยในการนำอาหารเข้าสู่เซลล์แล้วจึงมีการย่อยอาหารภายในเซลล์ซึ่งเรียกว่าการย่อยภายในเซลล์ (intracellular digestion) เช่น อะมีบาและพารามีเซียม ส่วนกากอาหารที่เหลือจากการย่อยก็จะถูกดันให้ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ออกไปข้างนอกในที่สุด


การย่อยอาหารของอะมีบา  (amoeba) อะมีบาเป็นโปรโทซัวที่เคลื่อนที่ด้วยขาเทียม อาหารของอะมีบาประกอบด้วยเศษสารอินทรีย์ เซลล์แบคทีเรีย สาหร่ายและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่นๆ การได้รับอาหารของอะมีบาเป็นไปอย่างง่ายๆ เนื่องจากเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว จะใช้วิธีฟาโกไซโทซิส ( phagocytosis) โดยใช้ขาเทียม หรือ ซูโดโปเดียม (pseudopodium) ออกไปโอบล้อมอาหารทำให้มีลักษณะเป็นถุงหลุดเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ เรียกถุงที่เก็บอาหารนี้ว่า ฟูดแวคิวโอล (food vacuole) ซึ่งการกินโดยยื่นส่วนของขาเทียมออกไปโอบล้อมอาหารนี้ จะพบในเซลล์เม็ดเลือดขาวด้วย จากนั้นฟูดแวคิวโอลจะเข้ารวมกับ lysosome ซึ่งน้ำย่อยที่อยู่ภายในส่วนใหญ่จะเป็นกรดเกลือ (HCl) เพื่อทำการย่อยอาหารในฟูดแวคิวโอล การเคลื่อนไหวของไซโทพลาซึมจะทำให้สารอาหารต่างๆ ถูกลำเลียงไปทั่วเซลล์ ส่วนที่เหลือจากการย่อยจะถูกขับออกทางเยื่อหุ้มเซลล์โดยการแพร่ หรือเอกโซไซโทซีสต่อไป


วีดีโอ 1 Phagocytosis I


วีดีโอ 2 Amoeba Feeding


การย่อยอาหารของยูกลีนา (euglena) ในเซลล์ของยูกลีนามี โครมาโทฟอร์ (Chromatophore) ซึ่งเป็นรงควัตถุที่มีคลอโรฟีลล์เอและคลอโรฟีลล์บีอยู่ด้วย ยูกลีนาจึงสังเคราะห์ด้วยแสงได้ นอกจากนี้ยังดำรงชีวิตแบบ saprophytic cell ได้ด้วยโดยย่อยสารอาหารที่อยู่รอบ ๆ ตัว และส่งเข้าร่องปาก 



วีดีโอ 3 Euglena Feeding

การย่อยอาหารของพารามีเซียม (paramecium)  พารามีเซียมเป็นโปรโทซัวที่เคลื่อนที่ด้วยขนเซลล์ หรือซิเลีย (cilia)  อาหารของพารามีเซียมคล้ายกับของอะมีบา การได้รับอาหารของพารามีเซียมโดยอาศัยการพัดโบกของซิเลียที่บริเวณร่องปาก (oral  groove) ให้อาหารตกลงสู่ร่องปาก จนถึงคอหอยและถูกสร้างเป็นฟูดแวคิวโอลขึ้น ฟูดแวคิวโอลนี้จะเคลื่อนที่ไปรอบๆ เซลล์โดยการไหลเวียนของไซโทพลาซึมและมีการย่อยอาหารเกิดขึ้นด้วย ทำให้ฟูด แวคิวโอลมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และสารอาหารที่ได้จากการย่อยก็จะแพร่ออกจากฟูดแวคิวโอล และกระจายไปได้ทั่วทุกส่วนของเซลล์ ส่วนที่เหลือจากการย่อยก็จะขับออกจากเซลล์ในรูปของกากอาหารต่อไป    

การนำสารอาหารเข้าไปในเซลล์ (ingestion) กระบวนการย่อยสลายสารอาหาร (digestion) และกระบวนการกำจัดของเสียออกจากเซลล์ของพารามีเซียมคล้ายกับวิธีการของอะมีบา  แต่พารามีเซียมมีซิเลียบริเวณร่องปาก ทำหน้าที่เป็นตำแหน่งของการนำสารอาหารเข้าสู่เซลล์ที่แน่นอนกว่า



วีดีโอ 4 Paramecium Feeding




วีดีโอ 5  สเตนเตอร์ (Stentor sp.)

การใช้ซิเลียรอบปาก โบกพัดเอาอาหารเข้าปา




แบบฝึกหัด  

คำชี้แจง  จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่า ถูกหรือผิด  ถ้าถูกให้ทำเครื่องหมาย /  ถ้าผิดให้ทำเครื่องหมาย  x  หน้าข้อความ


....... 1. สิ่งมีชีวิตที่จะมีการย่อยแบบ  Intracellular digestion ต้องไม่มีผนังเซลล์

....... 2. การย่อยแบบ  Intracellular digestion สามารถเกิดในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ก็ได้
....... 3. phagocytosis  เกิดเฉพาะในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเท่านั้น
....... 4. การย่อยอาหารแบบ Intracellular digestion  ทงานได้ดีที่ภาวะเป็นกรด
....... 5. pseudopodium นอกจากจะใช้ในการเคลื่อนที่แล้วยังช่วยในการนำออาหารเข้าเซลล์ด้วย
....... 6. พารามีเซียม มี oral  groove ทำให้มีน้ำเข้าเซลล์ได้มากกว่าปกติ
....... 7. ซิเลียของพารามีเซียมทำให้สามารถนำอาหารเข้าสูเซลล์ได้มากกว่า
....... 8. มักจะพบยูกลีนาบริเวณผิวน้ำ
....... 9. pyrenoid  คือบริเวณที่มีการสะสมเม็ดไขมันของยูกลีนา
....... 10. saprophytic เป็น   Extracellular digestion 

3 ความคิดเห็น:

  1. การย่อยอาหารของอะมีบาและพารามีเซียมเกิดที่ส่วนใดของเซลล์และมีการย่อยอาหารอย่างไร คับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. อะมีบา จะใช้วิธีฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) โดยใช้ขาเทียม หรือ ซูโดโปเดียม (pseudopodium) ออกไปโอบล้อมอาหารทำให้มีลักษณะเป็นถุงหลุดเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ เรียกถุงที่เก็บอาหารนี้ว่า ฟูดแวคิวโอล (food vacuole) จากนั้นฟูดแวคิวโอลจะเข้ารวมกับ lysosome ซึ่งเป็นน้ำย่อยที่อยู่ภายในส่วนใหญ่จะเป็นกรดเกลือ (HCl) เพื่อทำการย่อยอาหารในฟูดแวคิวโอล จนกลายเป็นสารอาหาร นำไปหายใจระดับเซลล์
      ส่วนพารามีเซียม จะมีซิเลียรอบๆ เซลล์ และร่องปาก โบกพัดอาหารให้เข้าสู่ร่องปาก (oral grove) หลุดเข้าเป็นถุง ฟูดแวคิวโอล แล้วใช้ lysosome ย่อยเหมือนอะมีบาคะ

      ลบ
  2. แล้วมีข้อมูลเพื่มเติมนอกจาก อะมีบา กับพารามีเซียมหรือเปล่าครับ?

    ตอบลบ