ครูไวยุ์
อวัยวะสำหรับการหายใจ
(Respiratory organ)
ของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปอาจสรุปในเบื้องต้นได้ว่า สัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่บนบกจะใช้หลอดลม
(trachea) ใช้ปอด (lung) พวกที่ใช้หลอดลมจะเป็นพวกแมลงต่างๆ
เป็นส่วนมาก พวกที่ใช้ปอดจะเป็นสัตว์เลื้อยคลาน นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
รูจมูก (nostril, naris) คือ
รูที่เป็นทางผ่านเข้าออกของอากาศเข้าสู่โพรงจมูก จากนั้นอากาศจะถูกส่งผ่านเข้าไปยังหลอดลมและเข้าสู่ปอดเพื่อทำการแลกเปลี่ยนแก๊ส
นอกจากอากาศแล้ว รูจมูกยังเป็นทางออกของน้ำมูกหรือเศษอาหารที่เกิดจากการสำลักอีกด้วย
สำหรับมนุษย์ รูจมูกที่มองเห็นจากภายนอกหรืออยู่บริเวณด้านนอกของจมูกนั้น เรียกว่า รูจมูกด้านหน้า (anterior nares) ซึ่งรูจมูกทั้งสองรูถูกแบ่งออกจากกันโดยผนังกั้นโพรงจมูก (nasal septum) ส่วนรูจมูกภายในหรือรูจมูกด้านหลังจะอยู่ด้านในศีรษะ เรียกว่า choanae
ภาพ 2 จมูกและโพรงจมูก
ผนังกั้นโพรงจมูก หรือ ผนังกั้นจมูก (nasal septum) คือส่วนที่แบ่งรูจมูกด้านหน้าซึ่งเป็นทางผ่านของอากาศไปยังปอดออกเป็นรูจมูกข้างซ้ายและรูจมูกข้างขวา
ผนังกั้นโพรงจมูกประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้น
นอกจากนี้ยังมีหลอดเลือดมาเลี้ยง
ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของเลือดกำเดาไหลอีกด้วย
ภาพ 3 ผนังกั้นโพรงจมูก
คอหอย (Pharynx) : อยู่ต่อจากส่วนท้ายของ
nasal cavities เป็นทางรวมก่อนที่จะแยกเป็นทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ
สิ่งที่เปิดเข้าสู่บริเวณ pharynx ได้แก่ posterior nares 1 คู่, Eustachian
tube 1 คู่, ช่องปาก, glottis และ esophagus ทางออกจากหลอดคอเข้าสู่ทางเดินหายใจ
คือ glottis และมีส่วนต่อด้วย larynx เป็นอวัยวะที่สร้างเสียง
เกิดจากการควบคุมทางเดินอากาศ ซึ่งอากาศที่ผ่านเข้าจะทำให้มีการสั่นของเส้นเสียงใน
larynx สำหรับในนกจะมี syrinx เป็นอวัยวะสร้างเสียง โดย syrinx จะอยู่ในตำแหน่งที่
trachea แยกออกเป็น bronchi
ภาพ 4 คอหอย (Pharynx)
หลอดลม (trachea) : เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์
ภาพ 5 หลอดลม (trachea)
หลอดลมฝอย (bronchiole) : แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. หลอดลมฝอยเทอร์มินอล (terminal bronchiole) เป็นท่อที่แยกออกจากหลอดลมแขนงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 มิลลิเมตร พบกล้ามเนื้อเรียบและเยื่ออิลาสติกไฟเบอร์ (elastic fiber)เป็นองค์ประกอบของผนังหลอดลมฝอยเทอร์มินอล แต่ไม่พบโครงสร้างที่เป็นกระดูกอ่อน
2. หลอดลมฝอยแลกเปลี่ยนแก๊ส (respiratory bronchiole) เป็นส่วนแรกที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊ส เนื่องจากมีถุงลมย่อยมาเปิดเข้าที่ผนัง ซึ่งจะพบในส่วนที่อยู่ท้าย ๆ ซึ่งจะมีมากกว่าส่วนที่อยู่ติดกับหลอดลมฝอยเทอร์มินอล
ท่อลม (alveolar duct) : เป็นท่อส่วนสุดท้ายของส่วนที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊ส (respiratory division) ซึ่งจะไปสิ้นสุดที่ถุงลม (alveolar sac)
ภาพ 6 หลอดลมเล็กหรือขั้วปอด( bronchus)
เยื่อหุ้มปอด (pleura) : เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด
ภาพ 7 เยื่อหุ้มปอด (pleura)
ถุงลมและถุงลมย่อย (alveolus หรือ alveolar sac และ pulmonary
alveoli) : ถุงลมเป็นช่องว่างที่มีถุงลมย่อยหลาย ๆ ถุงมาเปิดเข้าที่ช่องว่างอันนี้
ส่วนถุงลมย่อยมีลักษณะเป็นถุงหกเหลี่ยมมีเซลล์พิเศษหลั่งสารพวกฟอสโฟลิพิด (phospholipid) เรียกว่า เซอร์แฟกแทนท์ (surfactant) เข้าสู่ถุงลมย่อยเพื่อลดแรงตึงผิวของถุงลมย่อยไม่ให้ติดกัน
เมื่อปอดแฟบเวลาหายใจออกผนังของถุงลมย่อยที่อยู่ติดกันจะรวมกันเป็นอินเตอร์อัลวีโอลาร์เซปทัม (interalveolar septum) ซึ่งมีเส้นเลือดฝอยอยู่ภายใน
นอกจากนี้ยังมีรูซึ่งเป็นช่องติตต่อระหว่างถุงลมย่อยทำให้อากาศภายในถุงลมย่อยมีแรงดันเท่ากันทั้งปอด
ทั้งถุงลมและถุงลมย่อยจะรวมเรียกว่า ถุงลมปอด ปอดแต่ละข้างจะมีถุงลมปอดประมาณ 300 ล้านถุง แต่ละถุงจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 0.25 เซนติเมตร
คิดเป็นพื้นที่ทั้งหมดของการแลกเปลี่ยนแก๊สของถุงลมปอดทั้งสองข้างประมาณ 90 ตารางเมตรหรือคิดเป็น 40 เท่าของพื้นที่ผิวของร่างกาย
การที่ปอดยืดหยุ่นได้ดีและขยายตัวได้มากและการมีพื้นที่ของถุงลมปอดมากมายขนาดนั้นจะทำให้ร่างกายได้รับแก๊สออกซิเจนอย่างเพียงพอและคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ได้เป็นอย่างดีอีกด้วยปอดของคนมีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงอย่างมากมายจึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สได้มากและรวดเร็วจนเป็นที่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
ภาพ 8 ถุงลมและถุงลมย่อย (alveolus หรือ alveolar sac และ pulmonary alveoli)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น