1.3.2 การย่อยอาหารของสัตว์ที่ทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์

การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ (Incomplete  digestive  tract)

     เป็นทางเดินอาหารที่มีทางเปิดทางเดียว คือ มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก ปากทำหน้าที่เป็นทางเข้าของอาหารและทางออกของกากอาหาร ระบบทางเดินอาหารยังไม่พัฒนามากนัก

      1. ไฮดรา (Hydra) เป็นสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria ชื่อวิทยาศาสตร์Cnidaria หรือ เคยมีชื่อว่า ไฟลัมซีเลนเตอราตา หรือพวก ซีเลนเตอเรต (ชื่อวิทยาศาสตร์Coelenterate) เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ เช่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ไฮดรา) มีทางเดินอาหารเป็นแบบปากถุง (One hole sac) ไฮดราใช้อวัยวะคล้ายหนวด  เรียกว่า หนวดจับ Tentacle) ซึ่งมีอยู่รอบปาก อาหารของไฮดราคือ ตัวอ่อนของกุ้ง ปู และไรน้ำเล็กๆ และใช้เซลล์ที่มี นีมาโทซิสต์ Nematocyst) หรือเข็มพิษที่อยู่ที่ปลายหนวดจับในการล่าเหยื่อ ต่อจากนั้นจึงส่งเหยื่อเข้าปาก ทางเดินอาหารของไฮดราอยู่กลางลำตัวเป็นท่อกลวงเรียกว่า ช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ (Gastrovascular cavity) ซึ่งบุด้วยเซลล์ทรงสูง เรียกว่า ชั้นแกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) เป็นเยื่อชั้นในบุช่องว่างของลำตัวซึ่งประกอบด้วย

1. เซลล์ย่อยอาหาร (Digestive or Nutritive Cell) เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า Gland Cell ส่วนปลายมีแฟลเจลลัมทำหน้าที่จับอาหารที่มีขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์ สามารถสร้าง Food Vacuole ได้แบบเดียวกับอะมีบา เกิดการย่อยภายในเซลล์ (Intracellular Digestion) 

2. เซลล์ต่อมหรือเซลล์ย่อยอาหาร (Gland cell or digestive cell) เป็นเซลล์ขนาดเล็ก ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยส่งอกไปย่อยอาหารที่อยู่ใน Gastrovascular Cavity ซึ่งเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (Extracellular Digestion) กากอาหารจะถูกขับถ่ายออกทางช่องปาก


รูปที่ 1.1 ภาพตัดขวางและตามยาวแสดงโครงสร้างภายในของไฮดรา


รูปที่ 1.2 แสดงลักษณะของเซลล์ในผนังลำตัวของไฮดรา 


วีดิโอ 1.1 การกินอาหารของไฮดรา

     2. หนอนตัวแบน  เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส (Phylum Platyhelminthes) ได้แก่ พลานาเรีย พยาธิใบไม้ และพยาธิตัวตืด
      2.1. พลานาเรีย ทางเดินอาหารของพลานาเรียเป็นแบบ 3 แฉก แต่ละแฉกจะมีแขนงของทางเดินอาหารแตกแขนงย่อยออกไปอีก เรียกว่า ไดเวอร์ทิคิวลัม (Diverticulum) ปากอยู่บริเวณกลางลำตัว ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) มีลักษณะคล้ายงวงยาวหรือโพเบอซิส (Probosis) มีกล้ามเนื้อแข็งแรง มีหน้าที่จับอาหารเข้าสู่ปาก กากอาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึมแล้วจะถูกขับออกทางช่องปากเช่นเดิม การย่อยอาหารของพลานาเรียเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ นอกจากนี้เซลล์บุผนังช่องทางเดินอาหารยังสามารถใช้วิธีฟาโกไซโทซิสจับอาหารเข้ามาย่อยภายในเซลล์ได้ด้วย

รูปที่ 2.1 โครงสร้างภายในของพลานาเรีย

รูปที่ 2.2 ภาพตัดขวางลำตัว แสดงโครงสร้างภายในของพลานาเรีย


วีดิโอ 2.1 การกินอาหารของพลานาเรีย

     2.2 พยาธิใบไม้ มีทางเดินอาหารคล้ายพลานาเรีย แต่ทางเดินอาหารส่วนลำไส้ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีลักษณะคล้ายอักษรรูปตัววาย (Y–shape) ทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้ประกอบด้วยปากปุ่มดูด (Oral sucker) ที่มีปากดูดกินอาหารจากโฮสต์ ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) ต่อจากคอหอยเป็นหลอดอาหารสั้นๆ ซึ่งจะต่อกับลำไส้ (Intestine)


รูปที่ 2.3 โครงสร้างภายในของพยาธิใบไม้

รูปที่ 2.4 อวัยวะในระบบทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้


รูปที่ 2.5 วัฏจักรชีวิตของพยาธิใบไม้ตับ

     2.3 พยาธิตัวตืด ไม่มีระบบทางเดินอาหาร เพราะอาหารที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายส่วนใหญ่ถูกแปรสภาพเรียบร้อยแล้วโดยผู้ถูกอาศัย ใช้กระบวนการแพร่ของสารอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกาย


รูปที่ 2.6 ขนาดของพยาธิตัวตืด


รูปที่ 2.7 วัฎจักรชีวิตของพยาธิตัวตืด


รูปที่ 2.8 ลักษณะของพยาธิตัวตืด



แบบฝึกหัด
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียนอธิบายเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารของสัตว์

1. สรุปการกินอาหารของฟองน้ำ 
2. สรุปการทำงานของเซลล์โคเอโนไซต์ (Choanocyte cell) และเซลล์อะมีโบไซต์ (Amoebocyte cell)
3. สรุปการกินและการย่อยอาหารของไฮดรา
4. cnidocyte cell ของไฮดรามีความสำคัญอบ่างไร
5. สรุปการกินและการย่อยอาหารของพลานาเรีย


8 ความคิดเห็น: