ครูป้าไวยุ์
ผลการเรียนรู้
• สืบค้นข้อมูล
อธิบายและเปรียบเทียบโครงสร้างที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สของฟองน้ำ ไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือนดิน แมลง ปลา กบ และนกได้
• สังเกตและอธิบายโครงสร้างของปอดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมได้
• สืบค้นข้อมูลและอธิบายโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สและกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ได้
โครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
1.
เยื่อเซลล์
(wet body surface of small organism) เซลล์สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นน้ำตลอดเวลา จึงแลกเปลี่ยนแก๊สกับสิ่งแวดล้อมโดยการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
- ในพวก
prokaryotes, fungi, sponges และหนอนตัวแบนขนาดเล็ก
สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สกับสิ่งแวดล้อมได้โดยตรงโดยการแพร่
(diffusion)
- อัตราเร็วในการแพร่ของแก๊สระหว่าง
respiratory surface และสิ่งแวดล้อมจะแปรผันตาม
surface area แต่แปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง
-
เป็นสัตว์เซลล์เดียวซึ่งเซลล์จะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นน้ำอยู่ตลอดเวลา
-
เซลล์จะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สกับสิ่งแวดล้อมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง
โครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยใช้ผิว
(surface)
ฟองน้ำ (Sponge) ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์อยู่รวมกัน
ไม่มีเนื้อเยื่อ ไม่มีอวัยวะในการแลกเปลี่ยนแก๊ส น้ำเข้าทางรูพรุน ออสเทีย รอบตัว
และไหลออกทางออสคิวลัม
ทำให้น้ำไหลเวียนผ่านเซลล์และผ่านลำตัวของฟองน้ำจะเกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สที่เยื่อหุ้มเซลล์ของทุกเซลล์โดยวิธีการแพร่
พลานาเรีย
(Planaria)
มีรูปร่างแบนและบางทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสกับน้ำมากยิ่งขึ้นการลำเลียงแก๊สออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ใช้วิธีการแพร่
ภาพแสดง : การแลกเปลี่ยนแก๊สโดยใช้ผิวด้านในและนอกลำตัวของพลานาเรีย
ไฮดรา (Hydra) ไม่มีอวัยวะในการแลกเปลี่ยนแก๊ส แต่โครงสร้างลำตัวประกอบด้วยช่องภายใน เรียกว่า gastrovascular cavity น้ำสามารถผ่านเข้าได้ ทำให้เซลล์ทุกเซลล์สัมผัสกับน้ำที่เคลื่อนที่เข้าออกในช่องลำตัว เซลล์แต่ละเซลล์จึงทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส โดยนำออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกนอกเซลล์ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ด้วยวิธีการแพร่
ไส้เดือน
(Earth worm)
ใช้ผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนแก๊ส
แก๊สออกซิเจนในอากาศจะละลายน้ำที่เคลือบอยู่ที่ผิวลำตัวของไส้เดือนแล้วแพร่เข้าสู่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ใต้ผิวหนังของไส้เดือน
ภาพแสดง : การแลกเปลี่ยนแก๊สของไส้เดือนดิน โดยอาศัยการแพร่เข้าสู่ผิวลำตัวแล้วส่งต่อไปยังระบบหมุนเวียนเลือด
แมงดา (Horseshoe
crab) อยู่ส่วนท้อง มีลักษณะเป็นรูปทรงหกเหลี่ยม บริเวณด้านข้างมีหนาม 6 คู่
ส่วนท้องมีระยางค์ 6 คู่ ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นแบน คู่แรกเป็น
"แผ่นปิดเหงือก" (Gill Operculum) ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับเหงือก
และบริเวณฐานมีช่องสืบพันธุ์ (Genital Pore) 1 คู่ อีก 5 คู่ถัดไปเป็น
"เหงือก" (Gill Book) ที่มีรอยพับเป็นริ้ว ๆ ประมาณ 150 ริ้ว
เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส
แมงดาเป็นสัตว์ที่อยู่รอดได้แม้ไม่มีน้ำเป็นเวลาหลายวัน
หากเหงือกนี้ยังเปียกอยู่ เมื่ออยู่ในน้ำแมงดาจะหายใจโดยใช้วิธีกางเหงือกนี้ขึ้นลง
ภาพแสดง : เหงือก
(Book-like gills) ของแมงดาทะเล (Horseshoe crab)
เหงือก (Book-like
gills) ของแมงดาทะเล (Horseshoe
crab)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น