6.11.62

1.3.3 การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์





ครูป้าไวยุ์
  
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จุดประสงค์การเรียนรู้ 

สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้างและกระบวนการย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร สัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ และสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์



การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิด

ระบบทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์  (incomplete digestive tract) ประกอบด้วยช่องเปิดเพียง 1 ช่อง คือ อาหารเข้าทางปาก และกากอาหารออกทางเดียวกัน
ระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ (complete digestive tract) ประกอบด้วยช่องเปิด 2 ช่องทาหน้าที่เป็นปากและทวารหนักตามลาดับ
สัตว์บางชนิด เช่น ฟองน้ำไม่มีระบบทางเดินอาหาร แต่จะมีเซลล์พิเศษทำหน้าที่จับอาหารเข้าสู่เซลล์แล้วทำการย่อยภายในเซลล์สัตว์บางชนิดมีระบบทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์  เช่น ไฮดรา พลานาเรีย สัตว์บางชนิด เช่น ไส้เดือนดิน แมลงและสัตว์มีกระดูกสันหลังมีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ ระบบทางเดินอาหารของสัตว์เหล่านี้จะมีโครงสร้างบางอย่างแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดอาหารและพฤติกรรมการกิน
การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
  หนอนตัวกลม เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมเนมาโทดา (Phylum Nematoda) มีทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง หรือท่อกลวง (Two hole tube) มีคอหอยเป็นกล้ามเนื้อหนาช่วยในการดูดอาหาร  มีลำไส้ยาวตลอดลำตัว อาหารที่หนอนตัวกลมกินเข้าไปจะถูกย่อยและดูดซึมโดยลำไส้

ทางเดินอาหารของหนอนตัวกลมเรียงตามลำดับต่อไปนี้

ไส้เดือนดิน เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมแอนนิลิดา (Phylum Annelida) มีระบบทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube) ทางเดินอาหารของไส้เดือนดินประกอบด้วยปาก ซึ่งเป็นรูเปิดทางด้านหน้าของปล้องที่หนึ่ง ต่อจากปากก็จะเป็นช่องปาก (Buccal cavity) คอหอยมีกล้ามเนื้อหนาช่วยในการฮุบกิน มีกระเพาะพักอาหารและมีกึ๋นช่วยในการบดอาหาร ลำไส้สร้างน้ำย่อยปล่อยออกมาย่อยอาหาร สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบเลือด เพื่อลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่วนสารที่ย่อยไม่ได้ก็จะถูกขับออกทางช่องทวารหนักที่อยู่ทางส่วนท้ายของลำตัวเป็นกากอาหาร
ทางเดินอาหารของไส้เดือนดินเรียงตามลำดับต่อไปนี้

กุ้ง เป็นสัตว์ขาปล้องจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทโพดา (Phylum Arthropoda) ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube) แบ่งเป็น 3 ตอน คือ

1. ทางเดินอาหารตอนหน้า(Stomodaeum) ใช้ปากซึ่งมีรยางค์รอบปาก 3 คู่ ช่วยในการกินเคี้ยวอาหารและมีต่อมน้ำลาย (Salivary gland) ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย มีหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ซึ่งกระเพาะอาหารของกุ้ง ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ เป็นที่พักและบดอาหาร
2. ทางเดินอาหารตอนกลาง(Mesenteron) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกระเพาะอาหาร และมีช่องรับน้ำย่อย   ทางเดินอาหารส่วนนี้จึงทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร
3. ทางเดินอาหารตอนปลาย(Protodaeum) เป็นส่วนที่เรียกว่าลำไส้ เป็นท่อเล็ก ๆ พาดไปทางด้านหลังของลำตัว และไปเปิดออกที่ส่วนท้ายของส่วนท้องเรียกว่า ทวารหนัก 
ทางเดินอาหารของกุ้งเรียงตามลำดับต่อไปนี้

แมลง เป็นสัตว์ในกลุ่มขาปล้องจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทโพดา (Phylum Arthopoda) ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube) ปากของแมลงมีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างออกไป ให้มีความเหมาะสมกับสภาพของอาหารที่แมลงแต่ละชนิดกิน แต่แมลงมีลักษณะของทางเดินอาหารที่เหมือนกัน คือ ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะพักอาหารขนาดใหญ่ อยู่บริเวณทรวงอก และกระเพาะบดอาหาร (Gizzard) ช่วยในการกรองและบดอาหาร มีต่อมสร้างน้ำย่อย (Digestive  gland) มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ 8 อัน ยื่นออกมาจากทางเดินอาหารระหว่างกึ๋นและกระเพาะอาหาร
ทางเดินอาหารของตั๊กแตนเรียงตามลำดับต่อไปนี้







หอยทาก เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollasca) มีทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube) หอยกาบมีทางเดินอาหารแบ่งออกเป็นส่วนๆ คือ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ไส้ตรงและทวารหนัก การกินอาหารของหอยกาบจะใช้เลเบียล พัลพ์ (Labial palp) ข้างละ 1 คู่ ของปากช่วยพัดโบกให้อาหารตกลงไปในปาก
ทางเดินอาหารของหอยทากเรียงตามลำดับต่อไปนี้

แบบฝึกห้ด
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียนอธิบายเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารของสัตว์


1. สรุปการกินอาหารของหนอนตัวกลม
2. สรุปการกินอาหารและการย่อยอาหารของไส้เดือนดิน
3. สรุปการกินอาหารและการย่อยอาหารของแมลง
4.  สรุปการกินอาหารและการย่อยอาหารของกุ้ง
5. สรุปการกินอาหารและการย่อยอาหารของหอยทาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น