6.11.62

1.3.4 การย่อยอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลัง





ครูป้าไวยุ์


การย่อยอาหารของปลา ปลาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata) ปลามีทั้งปลาปากกลมซึ่งเป็นปลาที่ไม่มีขากรรไกรขอบของปากและลิ้นมีฟันใช้ขูดเนื้อและดูดกินเลือดสัตว์อื่น ปลาฉลามมีปากอยู่ทางด้านล่างและมีฟันจำนวนมาก ฉลามมีลำไส้สั้นและภายในมีลิ้นซึ่งมีลักษณะเหมือนบันไดเวียน (Spiral valve) ช่วยในการถ่วงเวลาไม่ให้อาหารเคลื่อนตัวไปเร็ว   และพวกปลากระดูกแข็งมีปากซึ่งภายในมีฟันรูปกรวย มีลิ้นขนาดเล็กยื่นออกมาจากปากทำหน้าที่รับสัมผัส พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาน้ำดอกไม้ ปลาพวกนี้จะมีลำไส้สั้น ส่วนปลากินพืช เช่น  ปลาทู ปลาสลิด จะมีลำไส้ยาว

ทางเดินอาหารของปลาเรียงตามลำดับต่อไปนี้

การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดปีก ได้แก่ นก เป็ด ไก่ ซึ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา (Chordata) ทางเดินอาหารประกอบด้วย ปากซึ่งไม่มีฟัน ต่อมน้ำลายเจริญไม่ดี แต่สร้างเมือกสำหรับคลุกเคล้าอาหารและหล่อลื่นได้  มีคอหอยสั้น หลอดอาหารยาว มีถุงพักอาหาร(Crop) ซึ่งทำหน้าที่เก็บอาหารสำรองไว้ย่อยภายหลัง กระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ กระเพาะตอนหน้าหรือกระเพาะย่อย (Proventriculus) ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย และกระเพาะอาหารตอนท้ายหรือกระเพาะบด (Gizzard) ต่อจากกระเพาะบดเป็นลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ส่วนท้ายเป็นโคลเอกา (Cloaca) ที่มีท่อไตและท่อของระบบสืบพันธุ์มาเปิดเข้าด้วยกัน และทวารหนักซึ่งเป็นส่วนท้ายสุด
ทางเดินอาหารของสัตว์ปีกเรียงตามลำดับต่อไปนี้

การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดกินพืช  ได้แก่ วัว ควาย จะมีโครงสร้างของทางเดินอาหารแตกต่างจากคนและสัตว์กินเนื้ออื่นๆ อยู่ 2 ประการ คือ
       1.  การมีทางเดินอาหารที่ยาวมากๆ ยาวถึง 40 เมตร ทำให้ระยะเวลาในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารนานยิ่งขึ้น  กระเพาะอาหารของวัวและควายแบ่งออกเป็น 4 ส่วน มีชื่อและลักษณะเฉพาะ  ได้แก่   
กระเพาะผ้าขี้ริ้ว : Rumen เป็นกระเพาะอาหารที่มีจุลินทรีย์ พวกแบคทีเรียและโพรโทซัวจำนวนมาก จุลินทรีย์พวกนี้สร้างน้ำย่อยเซลลูเลส ย่อยสลายเซลลูโลสจากพืชที่กินเข้าไปและสามารถสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวเอื้องเป็นครั้งคราวเพื่อบดเส้นใยให้ละเอียดจึงเรียกสัตว์พวกนี้ว่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ลักษณะเป็นปุ่มยื่นเล็กคล้ายผิวของผ้าขี้ริ้ว (ผ้าขนหนู) เป็นกระเพาะที่มีขนาดใหญ่ เป็นกระเพาะส่วนแรกของโค มีขนาดใหญ่กินเนื้อที่ประมาณ 3/4 ของช่องท้อง สำหรับใช้พัก หมักอาหารจำพวกหญ้า ผนังด้านในของกระเพาะรูเมน มีส่วนที่คล้ายขนยื่นออกมา เรียกว่า Pappilae ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวของกระเพาะ กระเพาะรูเมนมีความจุประมาณ 80% ของกระเพาะทั้งหมด หลอดอาหารจะมาเชื่อมต่อกับกระเพาะตรงรอยต่อของ กระเพาะรูเมนและเรตติคูลัม
กระเพาะรังผึ้ง : Reticulum
มีลักษณะเป็นสันรูปเลี่ยมคล้ายรังผึ้ง อยู่ส่วนหน้าสุด มีขนาดเล็ก กลม ด้านหัวและท้ายจะแบนเล็กน้อย ตอนบนของกระเพาะ จะมีส่วนที่ห่อตัวได้ เรียกว่า Esophageal groove ซึ่งจะใช้ประโยชน์เมื่อลูกโคดูดนม น้ำนมจะผ่าน Esophageal groove ไปสู่โบมาซัมได้โดยตรง กระเพาะส่วนนี้มีความจุประมาณ 5% ของกระเพาะทั้งหมด
กระเพาะสามสิบกลีบ : Omasum
เป็นกลีบแผ่นบาง ๆ รูปร่างคล้ายรูปไข่ ภายในเป็นกลีบซ้อนกัน จะช่วยในการกระจายอาหาร กระเพาะส่วนนี้อยู่ทางด้านขวาของตัวโค มีความจุประมาณ 7% ของกระเพาะทั้งหมด ทำหน้าที่ผสมและบดอาหารและดูดซึมน้ำจากรูเมน
กระเพาะแท้ : Abomasum เรียกว่า ไส้เปรี้ยว เป็นกระเพาะที่มีน้ำย่อยเพื่อใช้ในการย่อยอาหาร เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กตอนต้น จะมีการย่อยโปรตีน ไขมันและแป้งจากน้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำดีจากตับ จากนั้นก็ดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนต่อไป ปลาย จะต่อกับลำไส้เล็ก กระเพาะโอมาซัม มีความจุประมาณ 8% ของกระเพาะทั้งหมด
          ในปัจจุบันมีการนำเอาแบคทีเรียและโพรโทซัวมาผสมในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยและการดูดซึมอาหารของสัตว์
              2. การมีไส้ติ่งใหญ่  ไส้ติ่งของสัตว์กินพืชจะมีขนาดใหญ่ และเป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารโดยจุลินทรีย์ด้วย  สำหรับไส้ติ่งของสัตว์กินเนื้อจะมีขนาดเล็กและไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร



แบบฝึกห้ด
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียนอธิบายเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารของสัตว์

1. สรุปการย่อยอาหารของสัตว์ปีก 
2. สรุปการย่อยอาหารของวัว
3. สัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant) ได้โปรตีนมาจากแหล่งใด
4. เพราะเหตุใดสัตว์กินพืชจึงต้องกินอาหารปริมาณมากกว่าสัตว์กินเนื้อ 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น