8.12.55

Glucose and Monosaccharides




ครูไวยุ์


น้ำตาลกลูโคส (Glucose : C6H12O6



ATP (Adenosine-5'-triphosphate)



ครูไวยุ์

   Adenosine-5'-triphosphate (ATP) is a nucleoside triphosphate used in cells as a coenzyme. It is often called the "molecular unit of currency" of intracellular energy transfer. ATP transports chemical energy within cells for metabolism. It is one of the end products of photophosphorylation, cellular respiration, and fermentation. 

   Adenosine triphosphate-5'-(ATP) เป็น triphosphate nucleoside เป็นสารพลังงานสูงในเซลล์  มันมักจะเรียกว่า "หน่วยโมเลกุลของพลังงาน" ซึ่งเป็นการถ่ายโอนพลังงานภายในเซลล์ ATP จะเป็นสารที่คอยเก็บพลังงานเคมีที่เกิดจากการสลายสารอาหาร  ซ่ึงเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการ photophosphorylation ของการหายใจระดับเซลล์และการหมัก 

   One molecule of ATP contains three phosphate groups, and it is produced by a wide variety of enzymes, including ATP synthase, from adenosine diphosphate (ADP) or adenosine monophosphate (AMP) and various phosphate group donors. Substrate level phosphorylation, oxidative phosphorylation in cellular respiration, and photophosphorylation in photosynthesis are three major mechanisms of ATP biosynthesis.

   หนึ่งโมเลกุลของ ATP มี 3 หมู่ฟอสเฟต ในการสังเคราะห์อาศัยเอนไซม์ ATP synthase โดยการเปลี่ยน adenosine diphosphate (ADP) หรือ adenosine monophosphate (AMP) และหมู่ฟอสเฟต กระบวนการสร้าง ATP อาจจะเกิดจากกระบวนการ Substrate level phosphorylation หรือ oxidative phosphorylation ในการหายใจระดับเซลล์ และ photophosphorylation ในการสังเคราะห์ด้วยแสง


Structure of ATP (Adenosine-5'-triphosphate)



mitochondria






ครูไวยุ์

ไมโทคอนเดรีย (mitochondria)

  Mitochondria are the membrane-enclosed organelles, which are present in the cells of virtually all eukaryotic organisms. They are bounded by two highly specialized membranes, which together create two separate mitochondrial compartments: the internal matrix and the intermembrane space. The matrix and the inner membrane that surrounds it are major working parts of each mitochondrion. 

  ไมโทคอนเดรียเป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม พบในเซลล์ยูคาริโอต ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ซึ่งทำให้สามารถแยกออกเป็น เยื่อหุ้มชั้นใน และของเหลว เรียกว่า matrix และในส่วนของเยื่อหุ้มชั้นในและของเหลวนี่เองที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานของไมโทคอนเดรีย

  Mitochondria generate most of the cell's supply of adenosine triphosphate (ATP) - a source of chemical energy. This energy can be used by cells to power many energetically unfavorable processes. The set of the metabolic reactions and processes in cells that convert biochemical energy from nutrients into adenosine triphosphate (ATP) is called the cellular respiration.

  ไมโทคอนเดรียจะถูกสร้างเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามความต้องการพลังงานของเซลล์ (ATP) พลังงานที่สร้างจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ พลังงานเคมีเหล่านี้ถูกเปลี่ยนมาจากสารอาหารไปเก็บไว้ในรูปของ ATP เราเรียกว่า กระบวนการหายใจระดับเซลล์

   The first stage of the respiration in the cells of all living organisms is termed as glycolysis pathway. This process is found in the cytoplasm and does not require oxygen.It is the sequence of reactions that metabolizes one molecule of glucose to two molecules of pyruvate with the concomitant net production of two molecules of ATP. In eukaryotic cells, the pyruvate is then oxidized in the mitochondria to acetyl-CoA and CO2 by the pyruvate dehydrogenase complex. In the final stage of the oxidation of glucose, the acetyl group of acetyl CoA is fully oxidized to  CO2 in a cycle called the citric acid cycle, the tricarboxylic acid cycleor the Krebs cycle.

  ในขั้นตอนแรกของการหายใจระดับเซลล์ในเซลล์ทุกเซลล์ คือ วิถีไกลโคลิซีส เกิดในไซโทซอล และเป็นกระบวนการที่ไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน เป็นปฏิกิริยาของการเปลี่ยนกลูโคส 1 โมเลกุลให้ได้ผลผลิตคือ ไพรูเวท 2 โมเลกุล และ 2 ATP  ในเซลล์ยูคาริโอต พรูเวท ถูกออกซิไดซ์ในไมโทคอนเดรีย เป็น อะซิติล โคเอ และ คาร์บอนไดออกไซด์ โดยเอนไซม์ ไพรูเวทดีไฮดดรจีเนส ในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการสลายกลูโคส หมู่อะซิติลของอะซิติล โคเอ จะถูกเปลี่ยนเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ในวัฏจักรกรดซิตริกหรือวัฏจักรเครบส์


mitochondrion


4.12.55

หัวใจนักปราชญ์ (สุ จิ ปุ ลิ)


ครูไวยุ์
  
ความหมายของ  ฟัง คิด ถาม เขียน หรือ สุ จิ ปุ ลิ อธิบายได้ดังนี้
 สุ  มาจากคำว่า  สุตะ  แปลว่า ผู้รู้เพราะการฟัง  ผู้ที่จะเรียนรู้ได้ดีต้องฟังให้มาก ฟังอย่างตั้งใจ ต่อเนื่อง มีสมาธิ ซึ่งจะต้องควบคู่ไปกับการอ่านมากด้วย

          จิ มาจากคำว่า  จินตะ แปลว่า ผู้รู้ได้ด้วยการคิด การจินตนาการ สร้างสรรค์ เมื่อฟังแล้วอ่านแล้ว ต้องนำมาคิด เชื่อมโยงความสัมพันธ์ เปรียบเทียบ เรียกว่าคิดอย่างมีวิจารณญาณ แล้วคัดเลือกได้อย่างเหมาะสม



          ปุ มาจากคำว่า ปุจฉา แปลว่า ผู้รู้ได้ด้วยการสอบถาม  ค้นคว้า  การสืบค้นหาความรู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลมากยิ่งขึ้น หรือถูกต้อง หรือหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้     


  ลิ มาจากคำว่า  ลิขิต แปลว่า ผู้รู้ได้ด้วยการเขียน จดบันทึกความรู้ด้วยความเข้าใจจากการฟัง  การคิด  การถาม  การเขียน จึงเป็นบทสรุปของหัวใจทั้งหมดของนักปราชญ์  ซึ่งผลจากการเขียน จะยังสามารถนำมาทบทวนได้เมื่อต้องการและที่สำคัญการบันทึกยังเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่นได้อีกด้วย
         
(ฟังให้หมด จดให้มาก ปากต้องไว ใจต้องคิด)

“เรียนให้จริง เรียนให้รู้ ตามครูสอน
ทุกขั้นตอน ต้องเข้าใจ สงสัยถาม
อย่าเรียนเล่น เรียนหลอก นอกเนื้อความ
หากเรียนตาม ไม่ทัน ต้องขยันเรียน”


3.12.55

เปิด 10 เมนู 'ยอดฮิต-อันตราย' หน้าร.ร.


ครูไวยุ์

เปิด10 เมนู 'ยอดฮิต-อันตราย' หน้าโรงเรียน อาหาร ‘ทอด-ปิ้ง-ย่าง’ แก้หิวแต่ไร้คุณภาพ จี้แก้ปัญหาจริงจัง-หวั่นสุขภาพเด็กแย่ลง : ศูนย์ข่าว TCIJ โดยนาฏินันท์ จันทร์ธีระวงศ์
 

     ข่าวการเสียชีวิตของเด็กหญิงชาว จ.อุดรธานี วัย 15 ปี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2555 จากสาเหตุมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 600 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ โดยครอบครัวระบุว่า เด็กหญิงมักดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ หวังว่าจะเป็นการลดน้ำหนัก โดยไม่รับประทานอาหารอย่างอื่นเลย แต่ยังคงดื่มน้ำอัดลมและดื่มน้ำเปล่า แทนการรับประทานอาหารชนิดอื่น ทำให้เกิดอาหารปวดศีรษะ อาการทรุดหนักจนเสียชีวิตในที่สุด กลายเป็นประเด็นน่าสนใจขึ้นอีกครั้ง เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคของเด็กไทย และค่านิยมลดความอ้วน เนื่องจากที่ผ่านมามีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ที่มีประชากรเด็กป่วยเป็นโรคอ้วน ที่อยู่ภาวะอันตรายจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน

     แม้จะมีรายงานหลายชิ้นยืนยันตรงกัน หากกลับไปสำรวจข้อมูลการเคลื่อนไหว ต่อการแก้ไขปัญหานี้ พบว่า การแก้ปัญหายังไม่เห็นเป็นรูปธรรมเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก ๆ ที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไป เด็กไทยยังคงมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไร้ประโยชน์อยู่เช่นเดิม ทั้งในประเภทอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ อาหารมีรสหวานจัด เค็มจัด หรือ ขนมกรุบกรอบ โดยสังเกตได้จากสินค้าที่วางขายอยู่ในร้านค้าทั้งด้านหน้าและหลังโรงเรียน ที่ยังพบขนมไร้ประโยชน์อยู่มากมาย และเมื่อสำรวจพบว่ามีถึง 10 เมนูยอดนิยม

10 เมนูอันตรายยอดนิยมหน้าโรงเรียน


 จากการสำรวจของเว็บไซต์ เด็กดีดอทคอม (www.dek-d.com) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ยอดนิยมของเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่ออกสำรวจความคิดเห็นจากเด็กนักเรียน ที่นิยมซื้อหาอาหารหน้าโรงเรียน รับประทานหลังเลิกเรียน ได้ผลน่าสนใจสอดคล้องกับผลงานวิจัย ที่สรุปให้เห็นว่า การเลือกซื้ออาหารรับประทานของเด็ก ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลถึงสุขภาพของเด็กไทยนั่นเอง


      อันดับที่ 1 ชานมไข่มุก ที่วางขายในราคาเพียงแก้วละ 10 บาท ภายในบรรจุเม็ดไข่มุก หรือแป้งเม็ดกลมเคี้ยวหนึบ ใส่มาในน้ำนมชาชนิดต่าง ๆ รสชาติหวานเย็น ดึงดูดเด็ก ๆ ให้ซื้อรับประทาน นับเป็นเมนูเครื่องดื่มที่มีทั้งปริมาณนมและน้ำตาลอยู่ในปริมาณมาก ที่ได้รับความนิยมมาเป็นอันดับหนึ่ง และสามารถพบบริเวณร้านค้าหน้าโรงเรียนเกือบทุกโรงเรียน

      อันดับที่ 2 ขนมโตเกียว เป็นขนมยอดฮิตที่มีมาเป็นเวลานาน และยังคงได้รับความนิยมซื้อหามารับประทานของเด็กนักเรียน เป็นอาหารที่มีเพียงแป้ง และไส้ภายในที่ใส่ไข่นกกะทา, ไข่ไก่, ไส้กรอก, หมูสับ, ไส้ครีม, เผือก หรือครีมหวาน วางขายให้เด็ก ๆ

      อันดับที่ 3 ทาโกะยากิ หรือ ขนมครกญี่ปุ่น ที่มีส่วนผสมส่วนใหญ่เป็นแป้ง ผสมกับหนวดปลาหมึก และราดด้วยมายองเนส มีผักชิ้นเล็ก ๆ ผสมอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

    อันดับที่ 4 ซูชิ ราคาประหยัด อาหารประเภทนี้ ถือว่าไม่ดูอันตรายมากนัก หากเลือกหน้าที่มีประโยชน์ และร้านที่สะอาด เป็นเมนูอันดับ 4 ที่เด็ก ๆ นิยมซื้อรับประทาน เนื่องจากมีรสชาติถูกปากแล้ว ยังเป็นอาหารง่าย ๆ ที่อิ่มท้องด้วย

ครบทุกรูปแบบ-ทอด-ปิ้ง-ย่าง-ยำ

      อันดับที่ 5 ยำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือ ที่เด็ก ๆ เรียกว่า “ยำมาม่า” นับเป็นเมนูอาหารที่ได้รับความนิยมไม่แพ้เมนูอื่น ๆ เนื่องจากมีรสชาติจัดจ้านแบบไทย ๆ แต่ถือว่าเป็นเมนูที่มีประโยชน์ทางร่างกายน้อยที่สุด เพราะนอกจากผงชูรสที่มีอยู่จำนวนมากแล้ว ร้านค้าส่วนใหญ่ยังไม่นิยมใส่ผักให้กับเด็ก ๆ ดังนั้น สิ่งที่มีในอาหารจานนี้ จึงมีเพียง แป้ง น้ำตาล และปริมาณเกลือจากน้ำปลา มีเนื้อสัตว์ประเภท หมูสับ และอาหารทะเลบางชนิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

      อันดับที่ 6 เครป เป็นเมนูของว่างที่ประกอบด้วยแป้งเป็นหลัก ตามด้วยไส้ที่มีให้เลือกทั้งประเภทคาวและหวาน ซึ่งจะไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะชนิดหวาน ที่ส่วนใหญ่ร้านค้าจะมีขนมสีสดใส ประเภท เยลลี่ วุ้น หรือเม็ดน้ำตาลสี ไว้เรียกลูกค้าด้วย



      อันดับที่ 7 ลูกชิ้นทอด-ปิ้ง  ส่วนใหญ่แม้จะขึ้นชื่อว่าลูกชิ้นที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ แต่ส่วนใหญ่แล้วลูกชิ้นหน้าโรงเรียนล้วนมีส่วนผสมที่มีแป้งเป็นหลัก มากกว่าเนื้อสัตว์ เพราะฉะนั้น คุณค่าที่เป็นโปรตีนจึงมีน้อยมาก นอกจากนี้วิธีการปรุงด้วยการปิ้ง หรือทอด ล้วนเป็นกรรมวิธีทำอาหารที่มีอันตรายอีกด้วย

    อันดับที่ 8 มันฝรั่งเกลียวกรอบ เป็นเมนูอาหารว่าง ที่มีผงปรุงรส รสชาติต่าง ๆ ทั้งรสชีส ปาปริก้า พิซซ่า โนริสาหร่าย กระเพรา ฮอตแอนด์สไปซี่ ฯล ซึ่งล้วนแล้วแต่มีส่วนผสมที่เป็นผงชูรส ที่มีอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญเด็ก ๆ บางคนยังขอให้โรยเครื่องปรุงชนิดนี้จำนวนมากอีกด้วย

    อันดับที่ 9 ผลไม้รถเข็น แม้ว่าวัตถุดิบหลักจะเป็นผลไม้ ที่มีประโยชน์ เพราะมีวิตามินหลายชนิด แต่บางชนิดก็ต้องระมัดระวังเพราะมีการแช่ส่วนผสมอันตรายต่อสุขภาพ เช่น สี หรือส่วนผสมที่ทำให้ผลไม้กรอบ ดังนั้นต้องเลือกซื้อผลไม้ที่สดและสะอาดจะดีกว่า

      อันดับที่ 10 ขนมปังสังขยา แม้จะเป็นอาหารที่มีพิษภัยน้อย แต่ส่วนผสมส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงคาร์โบไอเดรต และยังมีน้ำตาลสูงอีกด้วย นักเรียนระบุนิยมเพราะหาซื้อง่าย แต่ไม่รู้พิษภัย

เด็กไม่รู้ว่าอาหารหน้าโรงเรียนอันตราย

  ทั้งนี้จากข้อมูลการสำรวจดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อาหารว่างที่เด็กนิยมซื้อรับประทานส่วนใหญ่ มักจะเป็นอาหารที่มีรสชาติค่อนข้างจัด ทั้งหวานจัด เค็มจัด และเป็นอาหารที่ใช้กรรมวิธีในการทำง่าย โดยเฉพาะอาหารชนิดทอด หรือปิ้ง ซึ่งถือเป็นกรรมวิธีที่ระบุว่า เป็นการประกอบอาหารที่อันตรายต่อสุขภาพกว่าวิธีอื่น ๆ แต่เมื่อสอบถามความคิดเห็นของเด็กนักเรียนที่นิยมซื้ออาหารเหล่านี้รับประทาน ส่วนใหญ่ได้รับคำตอบว่า ไม่ค่อยรู้ถึงพิษภัยที่จะเกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารเหล่านี้ หรือแม้จะมีการให้ความรู้ในบทเรียนบ้าง แต่เมื่อออกมาตามร้านค้า กลับยังพบอาหารวางขายอยู่ หาซื้อได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น ๆ เด็กนักเรียนส่วนใหญ่จึงคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรต่อสุขภาพมากนัก

    ในประเด็นนี้ น.พ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า เรื่องขนมที่นำมาขายเด็กบริเวณหน้าโรงเรียน เคยมีการพูดถึงเป็นประเด็นสำคัญในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 เมื่อปี 2554 และมีการรณรงค์และทำข้อมูลปัญหามาโดยตลอด เพราะข้อมูลระบุว่า มักจะมีการนำขนมไร้ประโยชน์ หรือ บางครั้งเป็นขนมปลอมจากชายแดน นำเข้ามาบรรจุถุงขายกระจายออกไปตามร้านค้าหน้าโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กนักเรียนเป็นอย่างมาก นอกจากขนมปลอมแล้ว ยังมีอาหารจำพวกของหวาน ของทอด ที่เป็นอันตรายต่อเด็ก ทำให้เกิดโรคอ้วนในเด็ก และสถานการณ์กำลังน่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่มีการรณรงค์อย่างจริงจัง

  “เตือนแล้วเตือนอีก อันตรายจากอาหารทอด ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เตือนอันตรายของอาหารประเภทของทอดทั้ง กล้วยแขก ลูกชิ้นทอด ไก่ทอด ฯลฯ ที่มีหน้าตาน่ารับประทาน และรสชาติกรอบ อร่อย แต่แฝงด้วยอันตรายที่มองไม่เห็นของสารก่อมะเร็ง เพราะน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารทั้งน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์” น.พ.อำพลกล่าว

น้ำมันทอดซ้ำตัวอันตรายที่คนมักมองข้าม

    จากรายงานการวิจัยพบว่า น้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะมีคุณภาพเสื่อมลง รวมทั้งสี กลิ่น และรสชาติก็จะเปลี่ยนไป นอกจากนี้จะมีความหนืดมากขึ้น ที่สำคัญจะเกิดสารประกอบที่สามารถสะสมในร่างกาย และส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ได้ ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สามารถก่อให้เกิดเนื้องอกในตับ ปอด และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ในหนูทดลอง ขณะเดียวกันยังพบสารcarsinogenesis ที่ก่อให้เกิดมะเร็งบนผิวหนังของมนุษย์อีกด้วย

   นอกจากนี้ยังส่งผลให้ตับและไตมีขนาดใหญ่ มีการสะสมไขมันในตับ การหลั่งน้ำย่อยทำลายสารพิษในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น และยังมีโอกาสเกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

       การบริโภคเป็นประจำ อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา จึงควรหลีกเลี่ยงไม่ซื้ออาหารทอดที่มีกลิ่นเหม็นหืน หรือจากร้านค้าที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ ซึ่งจะมีลักษณะเหนียว สีดำคล้ำ ฟองมาก เหม็นไหม้ เวลาทอดมีควันขึ้นมาก แสดงว่าเป็นน้ำมันที่ใช้มานาน ทำให้เกิดควันที่อุณหภูมิต่ำลง


ด้วย  รักและปรารถนาดี จาก ครูไวยุ์


ที่มา :  http://www.komchadluek.net/


2.12.55

ห้อง 4/4 ผลการทำบทปฏิบัติการระบบทางเดินอาหารของปลายี่สก




ครูไวยุ์

รายงานผลการทำบทปฏิบัติการระบบทางเดินอาหารของปลายี่สก ห้อง ม.4/4

การศึกษาลักษณะของปลายี่สก  (The digestive tract of  Iiesk fish )

    1. การวางยาสลบสัตว์ที่นำมาศึกษา
        1.1  วางยาสลบปลาด้วยสารเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
       Methane tricaine sulphanate (MS-222).........40-80 ppm
       หรือ Benzocaine…………......…......……...…100 ppm
       หรือ Quinaldine………………….............…10-15 ppm
        1.2  นำมาล้างภายนอกให้สะอาด

    2. การศึกษาลักษณะภายนอกและภายใน  วางปลาไว้ในถาดผ่าตัด
        2.1 ศึกษาลักษณะภายนอก เช่น ขนาด สี ลักษณะของเกล็ด ครีบ ตา เหงือก
        2.2 ใช้กรรไกรผ่าตัดสอดเข้าทางปากด้านล่าง ผ่าท้องไปจนตลอดครีบล่าง ระมัดระวังอย่าให้โดนอวัยวะภายในและช่องเปิดต่างๆ
        2.3 ผ่าตัดเปิดช่องท้อง ตัดส่วนของเนื้อออกจนถึงแผ่านปิดแก้ม
        2.4 ศึกษาลักษณะทางเดินอาหารตั้งแต่ปาก (mouth) จนถึงทวารหนัก (anus)
        2.5 ดึงอวัยวะทางเดินอาหารออกมา ระวังอย่าให้ขาด ใช้เข็มหมุดปักส่วนที่เป็นอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร
        2.6 เตรียมการนำเสนอ และเขียนรายงาน


ภาพประกอบจากการทำกิจกรรม
รูป 1 ลักษณะภายนอกของปลายี่ 
รูป  2  การผ่าตัดเพื่อศึกษาทางเดินอาหารของปลายี่สก
รูป 3 การศึกษาทางเดินอาหารของปลายี่สก




วีดิโอ  การศึกษาระบบทางเดินอาหารของปลายี่สก


ผู้จัดทำ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4
  
กลุ่ม 6

ครูผู้ควบคุม

นางไวยุด๊ะ  เหตุเหล๊าะ
นางสาวมาเรียม วัทนาด
นางสาววิกานต์ดา แหละคิ่น

1.12.55

ห้อง 4/4 ผลการทำบทปฏิบัติการระบบทางเดินอาหารของนกกระทา



ครูไวยุ์

รายงานผลการทำบทปฏิบัติการระบบทางเดินอาหารของนกกระทา ห้อง ม.4/4

การศึกษาลักษณะของนก


    1. การศึกษาลักษณะภายนอกและภายใน  วางนกไว้ในถาดผ่าตัด 

        1.1 ศึกษาลักษณะภายนอก เช่น ขนาด ลักษณะของผิวหนัง ปาก ตา หงอน ขา 
        1.2 ใช้กรรไกรผ่าตัดสอดเข้าทางปากด้านข้าง ผ่าช่วงคอตลอดไปจนถึงอก และตัดแยกจากอกไปจนถึงทวารหนัก ระมัดระวังอย่าให้โดนอวัยวะภายใน
        1.3 แยกให้แผ่ออก ศึกษาลักษณะทางเดินอาหารตั้งแต่ปาก (mouth) จนถึงทวารหนัก (anus) 
        1.4 ดึงอวัยวะทางเดินอาหารออกมา ระวังอย่าให้ขาด ใช้เข็มหมุดปักส่วนที่เป็นอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร
    2. เตรียมการนำเสนอ และเขียนรายงาน


ภาพประกอบการทำบทปฏิบัติการ


รูปที่ 1.1 นกกระทาก่อนทำการผ่าตัด
รูปที่ 1.2 นกกระทาก่อนทำการผ่าตัด
รูปที่ 2.1 นกกระทาขณะทำการผ่าตั

รูปที่ 3.1 นกกระทาหลังทำการผ่าตัด

รูปที่ 3.2 นกกระทาหลังทำการผ่าตัด


วีดิโอ 1 การศึกษาลักษณะทางเดินอาหารของนกกระทา

วีดิโอ 2 การศึกษาลักษณะทางเดินอาหารของนกกระทา

ผู้จัดทำ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 

กลุ่ม 9

นายภาณุพงศ์ แก้วประดิษฐ์ เลขที่ 9
นายประวีร์ ศรีพรสวรรค์ เลขที่ 19
น.ส.ชนม์นิภา ชาญกล เลขที่ 29
น.ส.จิตรานุช ท่วมเพ็ชร เลขที่ 39
น.ส.สุวรา อินนุ่น เลขที่ 49


กลุ่ม 10

นายสรศักดิ์ จุลเสวต เลขที่10
นายพศิน ภาวกังวาลวงศ์ เลขที่ 20
นางสาวกัญญนัช คงกะพันธ์ เลขที่ 30
นางสาวณัฐชยา หวังสวาสดิ์ เลขที่ 40



ครูผู้ควบคุม

นางไวยุด๊ะ  เหตุเหล๊าะ
นางสาวมาเรียม วัทนาด
นางสาววิกานต์ดา แหละคิ่น

ห้อง 4/4 ผลการทำบทปฏิบัติการระบบทางเดินอาหารของกุ้ง

 

ครูไวยุ์

รายงานผลการทำบทปฏิบัติการระบบทางเดินอาหารของกุ้ง ห้อง ม.4/4

การศึกษาลักษณะของกุ้ง (The digestive tract of shrimp)

    1. การศึกษาลักษณะภายนอกและภายใน  วางกุ้งไว้ในถาดผ่าตัด 
        1.1 ศึกษาลักษณะภายนอก เช่น ขนาด หนวด สีลำตัวและเหลือก ตา ขา 
        1.2 ใช้กรรไกรผ่าตัดสอดเข้าทางปากด้านล่าง แกะเปลือกส่วนหัวออกครึ้งหนึ่ง ตัดออก ปอกเปลือกกุ้งตลอดหาง ผ่าแนวสันหลังด้านบนจากหัวตลอดไปจนถึงหาง ไปจนถึงทวารหนัก ระมัดระวังอย่าให้โดนอวัยวะภายใน
        1.3 แยกให้แผ่ออก ศึกษาลักษณะทางเดินอาหารตั้งแต่ปาก (mouth) จนถึงทวารหนัก (anus) 
        1.4 ดึงอวัยวะทางเดินอาหารออกมา ระวังอย่าให้ขาด ใช้เข็มหมุดปักส่วนที่เป็นอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร
    2. เตรียมการนำเสนอ และเขียนรายงาน

ภาพประกอบการทำกิจกรรม
รูป 1.1 ลักษณะภายนอกก่อนผ่าตัด


รูป 1.2 ลักษณะภายนอกก่อนผ่าตัด

รูป 2.1 กุ้งขณะดำเนินการผ่าตัด

รูป 2.2 กุ้งขณะดำเนินการผ่าตัด

รูป 3.1 ระบบทางเดินอาหารของกุ้ง

รูป 3.2 ระบบทางเดินอาหารของกุ้ง

วีดิโอ 1.1  การศึกษาทางเดินอาหารของกุ้ง

วีดิโอ 1.2  การศึกษาทางเดินอาหารของกุ้ง


ผู้จัดทำ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4
  
กลุ่ม 7
นายพิชญุตม์ ขันธาโรจน์ เลขที่ 7
นายนันธวัฒน์ สุขบางนบ เลขที่ 17
น.ส.กนกวรรณ ชัยรัก เลขที่ 27
น.ส.อฑิตตา ภู่เจริญยศ เลขที่ 37
น.ส.มะลิสา คำแหง เลขที่
4

กลุ่ม 8

นายอนวัช คุ้มเมฆ เลขที่ 8
นายปฏิภาณ ชำนาญกิจ เลขที่ 18
น.ส.จิราวรรณ สุวรรณมณี เลขที่ 28
น.ส.กานต์ชนก พูลสวัสดิ์ เลขที่ 38
น.ส.วรลักษณ์ พัชนี เลขที่ 48



ครูผู้ควบคุม

นางไวยุด๊ะ  เหตุเหล๊าะ
นางสาวมาเรียม วัทนาด
นางสาววิกานต์ดา แหละคิ่น

ห้อง 4/4 ผลการทำบทปฏิบัติการระบบทางเดินอาหารของปลาตะเพียน



ครูไวยุ์

รายงานผลการทำบทปฏิบัติการระบบทางเดินอาหารของปลาตะเพียน ห้อง ม.4/4
การศึกษาลักษณะของปลาตะเพียน  (The digestive tract of Carp fish)

    1. การวางยาสลบสัตว์ที่นำมาศึกษา
        1.1  วางยาสลบปลาด้วยสารเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
       Methane tricaine sulphanate (MS-222).........40-80 ppm
       หรือ Benzocaine…………......…......……...…100 ppm
       หรือ Quinaldine………………….............…10-15 ppm
        1.2  นำมาล้างภายนอกให้สะอาด

    2. การศึกษาลักษณะภายนอกและภายใน  วางปลาไว้ในถาดผ่าตัด
        2.1 ศึกษาลักษณะภายนอก เช่น ขนาด สี ลักษณะของเกล็ด ครีบ ตา เหงือก
        2.2 ใช้กรรไกรผ่าตัดสอดเข้าทางปากด้านล่าง ผ่าท้องไปจนตลอดครีบล่าง ระมัดระวังอย่าให้โดนอวัยวะภายในและช่องเปิดต่างๆ
        2.3 ผ่าตัดเปิดช่องท้อง ตัดส่วนของเนื้อออกจนถึงแผ่านปิดแก้ม
        2.4 ศึกษาลักษณะทางเดินอาหารตั้งแต่ปาก (mouth) จนถึงทวารหนัก (anus)
        2.5 ดึงอวัยวะทางเดินอาหารออกมา ระวังอย่าให้ขาด ใช้เข็มหมุดปักส่วนที่เป็นอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร
        2.6 เตรียมการนำเสนอ และเขียนรายงาน


ภาพประกอบจากการทำกิจกรรม

รูป 1.1 ลักษณะภายนอกของปลาตะเพียน

รูป  1.2  การผ่าตัดเพื่อศึกษาทางเดินอาหารของปลาตะเพียน

รูป 1.3 การศึกษาทางเดินอาหารของปลาตะเพียน

วีดิโอ  การศึกษาระบบทางเดินอาหารของปลาตะเพียน

ผู้จัดทำ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4
  
กลุ่ม 5
1. 
นายสัณหณัฐ ไชยโยธา เลขที่ 5
2. นายชัยวุฒิ พรวุฒิกุล เลขที่ 15
3. นายศุภวิท คงศรี เลขที่ 25
4. นางสาวนิธิกานต์ ไชยโสม เลขที่ 35
5. นางสาวพิมพ์ชนก มณีฉาย เลขที่ 45
ครูผู้ควบคุม

นางไวยุด๊ะ  เหตุเหล๊าะ
นางสาวมาเรียม วัทนาด
นางสาววิกานต์ดา แหละคิ่น